มรรคมีองค์แปด
มรรค คือหนทาง
ในที่นี้คือหนทางที่ดี ที่จะนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่ความไม่มีทุกข์
(นิพพาน) ดับทุกข์ทั้งปวง เข้าสู่นิพพาน
มรรคแปด บางท่านเรียก
"อริยมรรค" หรือ "มรรคมีองค์แปด"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่าประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ, สัมมาวาจา
การพูดจาชอบ, สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ, สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ,
สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ, สัมมาสะติ ความระลึกชอบ, สัมมาสมาธิ
ความตั้งใจมั่นชอบ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
ท่านอธิบายว่า ความเห็นชอบ นั้นคือ ความรู้ในทุกข์
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้งหลายนี้คือ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
ท่านอธิบายว่า ความดำริชอบ นั้นคือ ความดำริในการออกจากกาม
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย
ความดำริในการไม่เบียดเบียน ทั้งหลายนี้คือ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
ท่านอธิบายว่า การพูดจาชอบ นั้นคือ เจตนาเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนาเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเว้นจากการพูดหยาบ เจตนาเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ทั้งหลายนี้คือ การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ
ท่านอธิบายว่า การทำการงานชอบ นั้นคือ เจตนาเว้นจากการฆ่า
เจตนาเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
ทั้งหลายนี้คือ การทำการงานชอบ
สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
ท่านอธิบายว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ นั้นคือ ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ ทั้งหลายนี้คือ การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ
ท่านอธิบายว่า ความพากเพียรชอบ นั้นคือ
ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้
เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้
เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว
ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้
เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้
เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ
ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ทั้งหลายนี้คือ ความพากเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
ท่านอธิบายว่า ความระลึกชอบ นั้นคือ
เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้
ทั้งหลายนี้คือ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
ท่านอธิบายว่า ความตั้งใจมั่นชอบ นั้นคือ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร
มีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะความวิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข
อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ อนึ่ง
เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า "เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นปกติสุข" เข้าถึงตติยาฌาน แล้วแลอยู่
เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่
ทั้งหลายนี้คือ ความตั้งใจมั่นชอบ
ได้จาก
|
วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
มรรคมีองค์แปด
วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
จริยธรรม
ความหมายของจริยธรรม
คำว่า “จริยธรรม” แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “หลักแห่งความประพฤติ” หรือ “แนวทางของการประพฤติ”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า "จริยธรรม" คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
โดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า“จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร นั่นหมายความว่า ได้กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้น” แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า "ศีลธรรม" และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า "จริยธรรม"
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่จริยธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นหลักคำสอนทางศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติปฏิบัติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติปฏิบัติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี
อีกทั้งจริยธรรมมิใช่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้น สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ในขณะที่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษ ดังนั้นคนจึงมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม
จากนิยามที่ยกมานั้น สามารถประมวลสรุปความได้ว่า จริยธรรม คือ แนวทางของ การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เป็นประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม
กล่าวโดยสรุป จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย
ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
๗. ความเสมอภาค
๘. ความเสียสละ
๙. ความซื่อสัตย์
๑๐. ความกล้า
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
๑๒. ความสามัคคี
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
๒๑. การมีคาวรธรรม
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
๒๓. การมีปัญญาธรรม
๒๔. ความไม่ประมาท
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
๒๗. การประหยัด
๒๘. ความยุติธรรม
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
๗. ความเสมอภาค
๘. ความเสียสละ
๙. ความซื่อสัตย์
๑๐. ความกล้า
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
๑๒. ความสามัคคี
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
๒๑. การมีคาวรธรรม
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
๒๓. การมีปัญญาธรรม
๒๔. ความไม่ประมาท
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
๒๗. การประหยัด
๒๘. ความยุติธรรม
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้
๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้
แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรมดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคมทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๘ โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่าง ๆ มากมาย วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ หน่วยงานต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าวต่าง ๆ เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้
๑. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง
๒. ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องโดยรีบด่วน
๓. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป
๔. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ
๕. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม
นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขององค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป หรือน้อยเกินไป การพิจารณาความดีความชอบให้มีความยุติธรรม และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ซึ่งบรรยากาศที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ
ค้นจาก
บรรทัดฐาน
บรรทัดฐานทางสังคม
บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ข้อบังคับ หรือ มาตรฐาน ในการปฏิบัติของคนในสังคมซึ่งสังคมยอมรับว่าสมควรจะปฏิบัติ เช่น บิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูบูตร บุตรต้องมีความกตัญญูต่อบิดา มารดา ข้าราชการต้องบริการประชาชน พระสงฆ์ต้องรักษาศีลและเป็นที่พึ่ง ทางใจ ของประชาชน ฯลฯ
ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม
บรรทัดฐานทางสังคมแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. วิถีประชา เป็นแบบแผนในการปฏิบัติหน้าที่ที่ทุกคนในสังคมปฏิบัติกันโดยทั่วไปจนเกิดเป็น ความเคยชิน ไม่ต้องมีศีลธรรมและกฎหมายบังคับ ผู้ไม่ปฏิบัติตาม ก็ไม่ได้ รับโทษ เพียงแค่ถูกนินทา เช่น ในการรับประทานอาหาร ควรใช้ช้อนกลาง ตักอาหาร หากไม่ใช้ช้อนกลางก็ไม่มีความผิด เป็นแค่ถูกตำหนิว่า ไม่มี มารยาทในการรับประทาน วิถีประชาแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันไป แต่ละสังคม จึงทำให้มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป
2. จารีต มีความหมายเหมือนคำว่า “ศีลธรรม” จารีตเป็นบรรทัดฐานที่ทุกคนในสังคม จะต้องกระทำเป็นกระบวนการ พฤติกรรมที่จำเป็นต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสวัสดิภาพของสังคม จารีตมีความสำคัญกว่าวิถีประชา เป็นเรื่องของความรู้สึกว่า สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกสังคมลงโทษ หรือได้รับการตำหนิอย่างรุนแรง ในสังคมไทยมีจารีตบางอย่างที่สำคัญมาก แม้มิได้นำไปบัญญัติเป็นกฎหมาย เช่น ความกตัญญู ระบบอาวุโส ความซื่อสัตย์ระหว่างสามี ภรรยา การแสดงความเคารพผู้ใหญ่ ฯลฯ
3. กฎหมาย หมายถึง บรรทัดฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบแบบแผน ซึ่งผู้มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองได้กำหนดขึ้น เพื่อบังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหรือห้ามมิให้กระทำ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามบทบัญญัติ
ความสำคัญของกฎหมาย
บรรทัดฐานทางสังคม มีทั้งวิถีประชา และจารีตแล้ว แต่ต้องมีกฎหมายเพื่อบังคับใช้ด้วย เพราะกฎหมายมีความสำคัญดังนี้
1. สังคมประกอบด้วยกลุ่มคนที่แตกต่างกัน มีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มอยู่เสมอ กฎหมายจึงมีความสำคัญ ในการ ขจัด ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หากไม่มีกฎหมาย กลุ่มก็จะต้องขจัด ความ ขัดแย้งกันเอง ตัดสินกันเองเป็นส่วนตัว ซึ่งจะไม่มีความยุติธรรมต่อคู่ ขัดแย้ง
2. วิถีประชา และจารีต มีลักษณะถาวรยาวนาน เปลี่ยนแปลงยาก ไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่กฎหมายจะเปลี่ยนแปลง ให้เข้ากับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ได้เร็วกว่า
3. กฎหมายมีอำนาจบังคับ มีบทบัญญัติลงโทษ มีเจ้าหน้าที่ จัดการ กับผู้ทำผิดกฎหมาย วิถีประชาและจารีตไม่มีอำนาจบังคับ สถานภาพ คือตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม
ค้นจาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)