BIOS (Basic Input Output System)
BIOS เป็นโปรแกรมเล็ก ๆที่ถูกจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำประเภท ROM มีหน้าที่ในการตรวจสอบความพร้อมของ อุปกรณ์ต่าง ๆ หลังจากที่ เราเปิดเครื่อง คอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อทำงาน ขบวนการหลังจากเปิดเครื่องนั้นจะถูกเรียกว่า POST (Power On Self Test) ซึ่งเป็นกระบวนการในการทดสอบตัวเองของคอมพิวเตอร์ โดยมี BIOS โปรแกรมนี้เป็นตัวช่วยจัด การ หากวันใดที่ BIOS มีความเสียหายเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถที่ใช้ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อีก ยกเว้นว่าเราจะดำเนินการนำ BIOS นั้นไปโปรแกรมใหม่
ROM BIOS
ROM BIOS - ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1. ชิพไบออส และ 2.ชิพซีมอส ซึ่งจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์
1. ชิพไบออส และ 2.ชิพซีมอส ซึ่งจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานของ Chipset
โดยทั่วไป ชุดChipset จะประกอบด้วย Chip มากกว่า 1 Chip และ chipset แต่ละตัวจะมี transistor มากกว่า 1 ล้านตัว ซึ่งมีหลากหลายหน้าที่ โดยสรุปได้ดังนี้
1. หลักการทำงานหลักของ Chipset คือควบคุมการทำงานและการเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรือ อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก (input/output device) หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ
2. ทำหน้าที่ควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆทุกอย่างที่ซีพียูไม่ได้ทำ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังซีพียู การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่าง ๆ
3. ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่บัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ ซีพียู กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง
4. สนับสนุนการทำงานของ Processor หลายตัว (Multi Processor) โดยที่วงจรควบคุมของ Chip Set จะทำหน้าที่ประสานงานการทำงานของ Processor ทั้งสอง ไม่ให้แต่ละ Processor รบกวนการทำงานของกันและกัน โดยทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการโดยเรียกการทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า SMP ( Symmetric Multiprocessing )
..
โดยทั่วไป ชุดChipset จะประกอบด้วย Chip มากกว่า 1 Chip และ chipset แต่ละตัวจะมี transistor มากกว่า 1 ล้านตัว ซึ่งมีหลากหลายหน้าที่ โดยสรุปได้ดังนี้
1. หลักการทำงานหลักของ Chipset คือควบคุมการทำงานและการเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรือ อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก (input/output device) หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ
2. ทำหน้าที่ควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆทุกอย่างที่ซีพียูไม่ได้ทำ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังซีพียู การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่าง ๆ
3. ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่บัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ ซีพียู กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง
4. สนับสนุนการทำงานของ Processor หลายตัว (Multi Processor) โดยที่วงจรควบคุมของ Chip Set จะทำหน้าที่ประสานงานการทำงานของ Processor ทั้งสอง ไม่ให้แต่ละ Processor รบกวนการทำงานของกันและกัน โดยทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการโดยเรียกการทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า SMP ( Symmetric Multiprocessing )
..
Slot หรือ Expansion slot หมายถึงช่องเสียบอุปกรณ์ที่มีติดตั้งไว้บน Mainboard ซึ่งผู้รู้จะ รู้จักในชื่อของ Bus เป็นรูปแบบของการรับส่งข้อมูลระหว่างตัว CPU กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อกับ mainboard ซึ่งแต่เดิมระบบหรือรูปแบบของการเชื่อมต่อ หรือ Bus นี้จะมีหลากหลายแบบโดยบริษัทด้านคอมพิวเตอร์ในยุคต้นๆต่างก็พัฒนา เช่นแบบ MCA (Micro Channel Architecture) ของ IBM ต่อมาก็มีการออก แบบ EISA (Extended Industry Standard Architecture) อันเป็นยุคของการรวมตัวร่วมกันพัฒนาของกลุ่มบริษัท ได้แก่ ASTReserach, Compaq Computer Corporation, NEC, Epson, Hewlett-Packard, Tandy, Wyse Technology, Olivetti และ Zeneith Data System | ![]() |
ทำให้ EISA เป็น busที่มีความเร็วที่สุดในสมัยนั้น(1988) โดยสามารถส่งข้อมูลขนาด 32 บิต ส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่ 8MHz โดยให้อัตราการส่งผ่าน ข้อมูลได้ถึง33MB/s(เมกกะไบท์ต่อวินาที) นอกจากนี้ยังมี Bus แบบ VL-Bus ปัจจุบัน ระบบดังที่กล่าวมานี้ต่างหายไปจากระบบ ของ Mainboard |
........
รูปแบบ Bus ที่เป็นมาตรฐานจะมี 4 รูปแบบ คือ 1.แบบ ISA (Industrial Standard Architecture) ระบบ Bus แบบดั้งเดิมที่ทำงานการส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วที่ 4MHz ให้อัตราการส่งผ่านข้อมูล 8 MB/s ปัจจุบันเกือบไม่มีใช้ แล้ว ยังคงพบได้ใน mainboard และ sound card รุ่นเก่าๆ | ![]() |
2.แบบ PCI (Peripheral Component Interconnect) ระบบ Bus แบบนี้ทำงานด้วยความเร็ว 33 MHz ให้อัตราการส่ง ผ่านข้อมูลที่ 133 MB/s โดยยังถือเป็น Bus แบบมาตรฐานของ เครื่อง PC ในยุคนี้ เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะใช้ระบบติดตั้งผ่าน slot ในรูปแบบ PCI นี้ แทบทั้งสิ้น | ![]() |
3.แบบ AGP (Accelerate Graphics Port) เป็นระบบ Bus ที่พัฒนา มารองรับการทำงานของการ์ดแสดงผล โดยเฉพาะ ซึ่งกระบวนการทำงานรูปแบบนี้ไม่ต้องผ่านตัว CPU เป็นหลัก ดังนั้นจึงสามารถทำงานด้วยความเร็วมากกว่า PCI ถึง 2 เท่า นั่นคือที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลที่เร็ว ขึ้นถึง 266MB/s (เมกกะไบท์ต่อวินาที) ใน Mode แบบปกติที่ เรียกว่า 1x แต่ต่อมาได้มีการพัฒนาอัตราการส่งผ่านข้อมูลจาก 1x ไปสู่ใน Mode อื่นๆ อีก คือ Mode 2x มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเป็น 533 MB/s Mode 4x มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลที่ 1,064MB/s Mode 8x มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 2.1GB/s | ![]() |
4.แบบ PCI Express นำมารองรับ การแสดงผล ที่ให้ความเร็วที่สูงกว่าแบบ AGP ![]() | ![]() |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น